กรณีที่พนักงานเอารถส่วนตัวมาใช้ในบริษัท สามารถเอาค่าน้ำมันมาลงเป็นรายจ่ายบริษัทได้ แต่ต้องมีระเบียบอนุญาต บันทึกการเดินทาง ใบเสร็จค่าน้ำมัน     กรณีที่พนักงานเอารถส่วนตัวมาใช้ในบริษัท ต้องแยกเป็น 3 กรณีก่อนคือ เบิกตามบิล เช่น เติมน้ำมัน 500 บาท เบิก 500 บาท กรณีนี้สามารถนำมาลงเป็นรายจ่ายของบริษัทได้เต็มจำนวน และไม่ถือเป็นเงินได้พนักงาน เบิกตามจริงหรือตามระยะทาง กรณีนี้หลายกิจการมักจะนำมาใช้ โดยจะมีระเบียบของบริษัทโดยมีเงื่อนไขการเบิกค่าน้ำมัน เวลาที่พนักงานต้องทำการเบิกค่าน้ำมัน จะต้องทำรายงานการเดินทางว่าเดินทางจากที่ใดไปที่ใด และให้เบิกตามจำนวนกิโลเมตรที่ได้เดินทาง เช่น กิโลเมตรละ 3-5 บาท กรณีนี้ก็ไม่ถือว่าเป็นเงินได้พนักงาน และสามารถเอามาลงเป็นรายจ่ายของกิจการได้ เหมาจ่าย คือการกำหนดจ่ายเป็นยอดคงที่ให้ในแต่ละเดือน เช่น เดือนละ 3,000-5,000 บาท แบบนี้เนื่องจากพิสูจน์ค่อนข้างยาก ว่าค่าน้ำมันที่ได้นั้น ได้เอาไปใช้ในกิจการหรือไม่ จึงถือว่าเป็นรายได้ของพนักงาน ซึ่งเมื่อกิจการได้จ่ายเงินให้ต้องหักภาษี ณ ที่จ่ายรวมเป็นเงินเดือนของพนักงานตามมาตรา 40(1) ค่าใช้จ่ายตรงนี้จึงสามารถนำมาลงเป็นรายจ่ายของกิจการได้ อย่างไรก็ตามในทุกๆกรณีกิจการต้องมี ระเบียบอนุญาตให้มีการเบิกจ่ายค่าน้ำมันรถยนต์ได้ มีหนังสืออนุญาตพร้อมทั้งการบันทึกอนุญาตให้เดินทางไปติดต่องานจากที่ใดถึงที่ใดระยะทางเท่าใด ชื่อเจ้าของรถยนต์ หมายเลขทะเบียนรถยนต์ ใบเสร็จรับเงินค่าน้ำมันรถยนต์ที่มีการระบุชื่อเจ้าของรถยนต์ หมายเลขทะเบียนรถยนต์ให้ชัดเจน  

กรณีที่กิจการต้องการใช้ตราประทับ ตราประทับที่ใช้ต้องเป็นไปตามข้อกำหนด โดยจะระบุชื่อกิจการหรือไม่ก็ได้ แต่หากระบุชื่อกิจการแล้ว ต้องระบุชื่อเต็ม ห้ามใช้ตัวย่อ     ตราประทับ คือ เครื่องหมายกำกับของผู้มีอำนาจลงนามทำธุรกรรม เพื่อใช้ประทับตราพร้อมลายเซ็นของผู้มีอำนาจ กรณีที่หนังสือจดทะเบียนระบุเอาไว้ กิจการสามารถมีตราประทับหรือไม่ก็ได้ โดยในขั้นตอนการจดทะเบียน กิจการต้องระบุในเงื่อนไขการลงลายมือชื่อของผู้มีอำนาจ ว่าให้ลงลายมือชื่ออย่างเดียว หรือลงลายมือชื่อพร้อมตราประทับ กรณีตอนจดทะเบียนบริษัท ไม่ได้แจ้งจดทะเบียนตราประทับ แต่ในภายหลังต้องการเปลี่ยนไปใช้ สามารถไปจดทะเบียนแก้ไขเปลี่ยนแปลงกับกรมพัฒน์ได้ ตราประทับจะระบุชื่อกิจการหรือไม่ก็ได้ -> สามารถใช้ภาพโลโก้อย่างเดียวก็ได้ หากจะระบุชื่อ -> ต้องชัดเจนและตรงกับชื่อที่ขอจดทะเบียนที่เป็นภาษาไทย หรือภาษาอังกฤษ หรือทั้งสองภาษา ต้องมีคำแสดงประเภทของนิติบุคคลด้วย  

กรณีที่ยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาไปแล้ว แต่พบว่ารายการไม่ถูกต้อง สามารถแก้ไขใหม่ได้ โดยการยื่นภาษีใหม่ทั้งหมดอีกครั้ง แต่หากยื่นภาษีผิด แต่ได้เงินคืนแล้ว ให้ติดต่อกับเจ้าหน้าที่กรมสรรพากร เพื่อติดต่อโอนเงินส่วนที่ขาดและเกินอีกครั้ง     กรณีที่ยื่นภาษีเรียบร้อยแล้ว แต่พบว่ากรอกข้อมูลไม่ถูกต้อง สามารถแยกได้เป็น 2 กรณีคือ 1.กรณีมีภาษีที่ต้องชำระ แต่ยังไม่ได้ชำระ – สามารถกดยกเลิกแบบ และทำการยื่นภาษีใหม่ได้ ด้วยการเริ่มต้นยื่นภาษีใหม่ทั้งหมดอีกครั้ง 2.กรณีมีภาษีที่ต้องชำระ และชำระแล้ว หรือไม่มีภาษีที่ต้องชำระ หรือเป็นแบบที่มีเงินคืน – ระบบจะขึ้นข้อมูลเตือนเพื่อให้ยื่นเพิ่มเติม และให้กรอกข้อมูลภาษีใหม่ทั้งหมดอีกคร้า 3.กรณียื่นภาษีผิด แต่ได้เงินภาษีคืนแล้ว - ผู้ยื่นภาษีควรติดต่อกับเจ้าหน้าที่สรรพากรเขตพื้นที่สาขา หรือติดต่อกรมสรรพากรผ่านช่องทางต่างๆ โดยตรง เพื่อแจ้งความผิดพลาดที่เกิดขึ้น เมื่อเจ้าหน้าที่สรรพากรพิจารณาแบบแสดงรายการภาษีที่ยื่นแก้ไขไปเรียบร้อยแล้ว จะมีการติดต่อโอนเงินในส่วนที่เกินหรือขาดอีกครั้ง ซึ่งเจ้าหน้าที่จะพิจารณาเป็นรายกรณี  

หากเราได้รับใบกำกับภาษีมา แต่ทำหาย ถูกทำลาย หรือชำรุดในส่วนที่เป็นสาระสำคัญ เราสามารถให้ผู้ขายออกใบแทนได้ โดยเราสามารถเอาใบแทนนั้นมาเป็นภาษีซื้อของเราได้อยู่ แต่มีเงื่อนไขอยู่ว่าต้องมีระยะเวลาไม่เกิน 6 เดือน แต่ต้องยึดตามวันที่ในใบกำกับภาษีฉบับเดิม ไม่ใช่วันที่ออกใบแทนใบกำกับ    

ประกันสังคมมาตรา 33 คือพนักงาน และลูกจ้างบริษัททั่วไป โดยอายุไม่ต่ำกว่า 15 ปี และไม่เกิน 60 ปี ส่วนประกันสังคมมาตรา 39 คือบุคคลเคยทำงานอยู่ในบริษัทเอกชนในมาตรา 33 มาก่อนแล้วลาออก แต่ต้องการรักษาสิทธิประกันสังคมไว้ ไว้ จึงสมัครเข้าใช้สิทธิประกันสังคมในมาตรา 39 แทน ในส่วนของสิทธิประโยชน์ที่ผู้ประกันทั้งสองแบบนี้จะได้รับเรียกว่าเหมือนกันหมด เว้นแต่เงินชดเชยกรณีว่างงานเท่านั้น ที่ผู้ประกันตนมาตรา 33เท่านั้นที่จะมีสิทธิได้รับ     ประกันสังคมมาตรา 33 ได้แก่เป็นพนักงานบริษัทเอกชนทั่วไป เป็นลูกจ้าง โดยอายุไม่ต่ำกว่า 15 ปี และไม่เกิน 60 ปี  โดยอัตราเงินสมทบที่ต้องจ่ายจะแบ่งเป็นส่วนของลูกจ้าง 5% และนายจ้าง 5% ซึ่งคิดจากค่าจ้าง 1,650 - 15,000 บาท (ยึดตามยอดที่จ่ายจริง หากต่ำกว่า 1,650 บาท ให้คิดที่ 1,650 บาท แต่หากเงินเดือนมากกว่า 15,000 บาท ก็จะคิดที่ 15,000 บาทเท่านั้น) ประกันสังคมมาตรา 39 คือ บุคคลที่เคยทำงานอยู่ในบริษัทเอกชนในมาตรา 33 มาก่อนแล้วลาออก แต่ต้องการรักษาสิทธิประกันสังคมไว้ จึงสมัครเข้าใช้สิทธิประกันสังคมในมาตรา 39 แทน โดยมีเงื่อนไขว่าต้องเป็นผู้ประกันตนในมาตรา 33 มาแล้วไม่ต่ำกว่า 12 เดือน และออกจากงานไม่เกิน 6 เดือน และต้องไม่เป็นผู้ทุพพลภาพ เงินสมทบที่จะต้องนำส่งคือเดือนละ 432 บาท (คิดจากฐานเงินเดือน 4,800 บาท*9%) ในส่วนของสิทธิประโยชน์ที่ผู้ประกันทั้งสองแบบนี้จะได้รับเรียกว่าเหมือนกันหมด ไม่ว่าจะเป็น กรณีเจ็บป่วย คลอดบุตร สงเคราะห์บุตร ทุพพลภาพ เสียชีวิต ชราภาพ ยกเว้นแต่กรณีที่ 7.ว่างงาน ที่ผู้ประกันตนมาตรา 33 เท่านั้นที่จะมีสิทธิได้รับ แต่เงินที่จะได้รับในส่วนของมาตรา 33 และ 39 สำหรับกรณีที่ต้องใช้ฐานเงินเดือนมาคำนวณ เช่น กรณีเสียชีวิต หรือชราภาพ หากเป็นมาตรา 33 จะดูที่ฐานเงินเดือนที่จ่ายจริงคือขั้นต่ำที่ 1,650 บาทและสูงสุดที่ 15,000 บาท ในขณะที่มาตรา 39 จะมีฐานเงินเดือนเดียวที่ 4,800 บาท  

เงินประกันสังคมที่ถูกหักจากเงินเดือน ทางนายจ้างจะนำส่งประกันสังคม และทางลูกค้าจ้างจะได้รับสิทธิประโยชน์ ได้แก่ กรณีเจ็บป่วย คลอดบุตร สงเคราะห์บุตร ทุพพลภาพ กรณีเสียชีวิต ชราภาพ และว่างงาน     รู้หรือไม่??? ว่าเงินประกันสังคมที่เราถูกหักกันทุกเดือนนั้น มีประโยชน์อย่างไร และสิทธิประโยชน์ที่จะได้จากประกันสังคมมีอะไรบ้าง สิทธิประกันสังคม ถือว่ามีเยอะมากๆ ไม่ว่าจะเป็น สิทธิกรณีเจ็บป่วย สิทธิในการคลอดบุตร สิทธิในการสงเคราะห์บุตร สิทธิกรณีทุพพลภาพ สิทธิกรณีเสียชีวิต สิทธิกรณีชราภาพ สิทธิกรณีว่างงาน  

ค่าปรับอาญา กรณีไม่ได้ยื่นแบบภ.พ.30 (กำหนดยื่นแบบไม่เกินวันที่ 15 ของเดือนถัดไป) -กรณียื่นแบบเกินกำหนด แต่ไม่เกิน 7 วัน ค่าปรับ 300 บาท -กรณียื่นแบบเกินกำหนด และเกิน 7 วัน ค่าปรับ 500 บาท     เบี้ยปรับ แบ่งออกเป็น 2 กรณีคือ 1.กรณียื่นแบบ ภ.พ.30 เพิ่มเติม (ต้องมีการยื่นแบบปกติภายในกำหนดเวลามาก่อน ถึงจะยื่นแบบเพิ่มเติมได้) -ถ้าชำระภายใน 1-15 วัน คิดค่าเบี้ยปรับในอัตรา 2% -ถ้าชำระภายใน 16-30 วัน คิดค่าเบี้ยปรับในอัตรา 5% -ถ้าชำระภายใน 31-60 วัน คิดค่าเบี้ยปรับในอัตรา 10% -ถ้าชำระหลัง 60 วันไปแล้ว คิดค่าเบี้ยปรับในอัตรา 20% 2. กรณีไม่เคยยื่นแบบ ภ.พ. 30 มาก่อน -ถ้าชำระภายใน 1-15 วัน คิดค่าเบี้ยปรับในอัตรา 2%*2 เท่า -ถ้าชำระภายใน 16-30 วัน คิดค่าเบี้ยปรับในอัตรา 5%*2 เท่า -ถ้าชำระภายใน 31-60 วัน คิดค่าเบี้ยปรับในอัตรา 10%*2 เท่า ถ้าชำระหลัง 60 วันไปแล้ว คิดค่าเบี้ยปรับในอัตรา 20%*2 เท่า     เงินเพิ่ม -  คิด1.5% ต่อเดือน ของภาษีที่ต้องชำระทั้งสิ้น (เศษของเดือนนับเป็น 1 เดือน) - กรณีไม่มีภาษีที่ต้องชำระก็ไม่ต้องจ่ายเงินเพิ่ม แต่จะเสียแค่ค่าปรับอาญากรณีที่ไม่ยื่นแบบเท่านั้น

หากมีการจ่ายค่าบริการแล้วมีการหักภาษี ณ ที่จ่าย สิ่งที่ต้องทำนอกเหนือจากการนำส่งภาษีดังกล่าว ก็คือการกรอกหนังสือรับรองหัก ณ ที่จ่าย  จุดที่ต้องระวังคือ หลายคนชอบกรอกผิดคือจะนำยอดรวมภาษีมูลค่าเพิ่มมากรอกในช่องจำนวนเงินที่จ่าย ดังนั้นต้องระวังดีๆ     ทุกครั้งที่นิติบุคคลมีการหัก ณ ที่จ่าย นิติบุคคลดังกล่าวจะต้องเขียนหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่ายให้กับผู้ให้บริการเพื่อเป็นหลักฐานว่าได้มีการหักภาษีเรียบร้อยแล้ว ซึ่งผู้ประกอบการส่วนใหญ่ไม่รู้ว่าหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ทีจ่ายต้องจัดทำและเขียนอย่างไร วันนี้เราจะมาแชร์วิธีการเขียนหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่ายกันค่ะ  

ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดากำหนดการยื่นแบบและชำระภาษีภายในวันที่ 31 มีนาคม ของทุกปี แต่หากเป็นกรณียื่นเสียภาษีแบบออนไลน์จะมีการขยายเวลาให้อีก 8 วัน เป็นวันที่ 8 เมษายน ของทุกปี     ช่วง 1 มกราคม – 31 มีนาคม ของทุกปี ทุกคนที่มีรายได้จะต้องยื่นแบบเสียภาษี โดยต้องยื่นแบบชำระการจ่ายภาษี ภ.ง.ด. 90 / ภ.ง.ด. 91 (หรือภ.ง.ด. แบบอื่น ๆ) ซึ่งปัจจุบันการยื่นแบบถือว่าง่าย และสะดวกสบายกว่าเมื่อก่อนมาก เพราะสามารถยื่นแบบผ่านทางออนไลน์ได้เลย ซึ่งก่อนยื่นเสียภาษีจะต้องทำความเข้าใจก่อนว่าเราจะต้องยื่นภาษีในแบบไหน ซึ่งแบบเป็น ภ.ง.ด. 90 ใช้สำหรับผู้มีเงินได้ประเภทที่มิใช่เงินเดือน หรือมีเงินได้ 2 ประเภท ขึ้นไป (หรือสำหรับคนมีเงินเดือนและมีรายได้อื่นด้วย เช่น เงินปันผลจาการกองทุนและหุ้น รายได้จากการขายที่ดิน หรือจากมรดก เป็นต้น) ภ.ง.ด.91 ใช้สำหรับผู้มีเงินได้ประเภท “เงินเดือน” อย่างเดียว ภ.ง.ด.94 ใช้สำหรับผู้มีเงินได้ ตามมาตรา 40(5)-(8) ต้องยื่นแบบเพื่อเสียภาษีเงินได้ของงวด ม.ค.-มิ.ย. ภายในเดือน ก.ย. ปีเดียวกัน (เป็นการเสียภาษีครึ่งปี สำหรับคนไม่มีเงินเดือน แต่มีรายได้ อย่างอื่นมาแทนเช่น  เงินปันผลจาการกองทุนและหุ้น รายได้จากการขายที่ดิน หรือจากมรดก เป็นต้น)  

ค่าเสื่อมราคา คือ ค่าใช้จ่ายที่ทยอยตัดจากมูลค่าของสินทรัพย์ที่กิจการใช้ประโยชน์และใช้งานได้เกินกว่า 1 ปีขึ้นไป และมักจะมีมูลค่าสูง ซึ่งสามารถทยอยบันทึกเป็นค่าใช้จ่ายทางภาษีของบริษัทได้โดยไม่เกินอัตราที่กรมสรรพากรกำหนด และไม่สามารถบันทึกเป็นรายจ่ายได้เต็มจำนวน ณ ปีที่ซื้อ   ค่าเสื่อมราคาคืออะไร ค่าเสื่อมราคา คือ ค่าใช้จ่ายที่ทยอยตัดจากมูลค่าของสินทรัพย์ที่กิจการใช้ประโยชน์และใช้งานได้เกินกว่า 1 ปีขึ้นไป และมักจะมีมูลค่าสูง กิจการต้องประมาณการอายุการให้ประโยชน์ของสินทรัพย์แต่ละรายการเพื่อทยอยตัดเป็นค่าใช้จ่ายในแต่ละงวด   ค่าเสื่อมราคาคำนวณอย่างไร ค่าเสื่อมราคา  = (ราคาทุน-มูลค่าซาก)/อายุการใช้งาน ราคาทุน คือ ราคาที่ซื้อสินทรัพย์มา บวกด้วยค่าใช้จ่ายอื่นๆที่จำเป็นต้องจ่ายไปเพื่อให้สินทรัพย์นั้นพร้อมใช้งาน เช่น ค่าขนส่ง ค่าบริการติดตั้ง เป็นต้น มูลค่าซาก คือ มูลค่าสินทรัพย์คงเหลือเมื่อหมดอายุการใช้งานหรือเลิกใช้งาน โดยต้องประเมินมูลค่าดังกล่าวให้สมเหตุสมผลที่สุด เพื่อให้ค่าเสื่อมราคาที่บันทึก สะท้อนค่าใช้จ่ายที่ควรจะเป็นของกิจการ   ค่าเสื่อมราคา มี วิธีการคิด 4 วิธี ได้แก่ 1.วิธีเส้นตรง – คำนวณจากการนำราคาทุนของสินทรัพย์หักด้วยมูลค่าซาก หารด้วยอายุการใช้งาน ซึ่งจะทำให้ค่าเสื่อมราคาเท่ากันทุกปี 2.วิธียอดลดลงทวีคูณ – คำนวณโดยใช้สองเท่าของอัตราค่าเสื่อมราคาวิธีเส้นตรงคูณด้วยราคาตามบัญชีของสินทรัพย์ ณ วันต้นงวด 3.วิธีผลรวมจำนวนปี – ผลรวมจำนวนปีคำนวณจากเศษส่วนของอายุการใช้งานคงเหลือของสินทรัพย์ คูณด้วยราคาทุนหักมูลค่าซาก 4.วิธีจำนวนผลผลิต – คำนวณจากการคำนวณหาค่าเสื่อมราคาต่อหน่วยคูณด้วยปริมาณผลผลิตในแต่ละงวดบัญชี