ประกันตนมาตรา 33 กับ 39 ต่างกันอย่างไร
ประกันสังคมมาตรา 33 คือพนักงาน และลูกจ้างบริษัททั่วไป โดยอายุไม่ต่ำกว่า 15 ปี และไม่เกิน 60 ปี ส่วนประกันสังคมมาตรา 39 คือบุคคลเคยทำงานอยู่ในบริษัทเอกชนในมาตรา 33 มาก่อนแล้วลาออก แต่ต้องการรักษาสิทธิประกันสังคมไว้ ไว้ จึงสมัครเข้าใช้สิทธิประกันสังคมในมาตรา 39 แทน ในส่วนของสิทธิประโยชน์ที่ผู้ประกันทั้งสองแบบนี้จะได้รับเรียกว่าเหมือนกันหมด เว้นแต่เงินชดเชยกรณีว่างงานเท่านั้น ที่ผู้ประกันตนมาตรา 33เท่านั้นที่จะมีสิทธิได้รับ
ประกันสังคมมาตรา 33 ได้แก่เป็นพนักงานบริษัทเอกชนทั่วไป เป็นลูกจ้าง โดยอายุไม่ต่ำกว่า 15 ปี และไม่เกิน 60 ปี โดยอัตราเงินสมทบที่ต้องจ่ายจะแบ่งเป็นส่วนของลูกจ้าง 5% และนายจ้าง 5% ซึ่งคิดจากค่าจ้าง 1,650 – 15,000 บาท (ยึดตามยอดที่จ่ายจริง หากต่ำกว่า 1,650 บาท ให้คิดที่ 1,650 บาท แต่หากเงินเดือนมากกว่า 15,000 บาท ก็จะคิดที่ 15,000 บาทเท่านั้น)
ประกันสังคมมาตรา 39 คือ บุคคลที่เคยทำงานอยู่ในบริษัทเอกชนในมาตรา 33 มาก่อนแล้วลาออก แต่ต้องการรักษาสิทธิประกันสังคมไว้ จึงสมัครเข้าใช้สิทธิประกันสังคมในมาตรา 39 แทน โดยมีเงื่อนไขว่าต้องเป็นผู้ประกันตนในมาตรา 33 มาแล้วไม่ต่ำกว่า 12 เดือน และออกจากงานไม่เกิน 6 เดือน และต้องไม่เป็นผู้ทุพพลภาพ เงินสมทบที่จะต้องนำส่งคือเดือนละ 432 บาท (คิดจากฐานเงินเดือน 4,800 บาท*9%)
ในส่วนของสิทธิประโยชน์ที่ผู้ประกันทั้งสองแบบนี้จะได้รับเรียกว่าเหมือนกันหมด ไม่ว่าจะเป็น
- กรณีเจ็บป่วย
- คลอดบุตร
- สงเคราะห์บุตร
- ทุพพลภาพ
- เสียชีวิต
- ชราภาพ
ยกเว้นแต่กรณีที่ 7.ว่างงาน ที่ผู้ประกันตนมาตรา 33 เท่านั้นที่จะมีสิทธิได้รับ
แต่เงินที่จะได้รับในส่วนของมาตรา 33 และ 39 สำหรับกรณีที่ต้องใช้ฐานเงินเดือนมาคำนวณ เช่น กรณีเสียชีวิต หรือชราภาพ หากเป็นมาตรา 33 จะดูที่ฐานเงินเดือนที่จ่ายจริงคือขั้นต่ำที่ 1,650 บาทและสูงสุดที่ 15,000 บาท ในขณะที่มาตรา 39 จะมีฐานเงินเดือนเดียวที่ 4,800 บาท